การชุบเคลือบผิวเครื่องประดับด้วยไฟฟ้า เช่น การชุบทอง เงิน นาก ว่ากันว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันยังคงพบเห็นร้านรับชุบเครื่องประดับ เครื่องหมายและของที่ระลึกต่างๆตามแหล่งชุมชนอยู่บ้าง โดยมักเป็นร้านขนาดเล็กที่ทำคนเดียวใช้พื้นที่หน้าร้านเพียงเล็กน้อยตั้งอุปกรณ์รวมไปถึงร้านที่ทำเป็นกิจการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 4-5 คน ทำงานในห้องแถวเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ชุบชิ้นงานได้เป็นร้อยๆ ชิ้นในการชุบครั้งเดียว
การชุบทองแดงด่าง เป็นการชุบรองพื้น เพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิวชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว ส่วนการชุบทองแดงกรดจะทำให้ผิวเรียบมันเงา ทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรือโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม
ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่นๆ ซึ่งในการชุบจริงอาจลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงาน เช่น หากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น
สารเคมีที่เกี่ยวข้อง การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้
1.สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20-40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน
2.น้ำยาชุบทองแดงด่าง สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียม คาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น
3.น้ำยาชุบทองแดงกรด เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น
2.น้ำยาชุบทองแดงด่าง สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียม คาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น
3.น้ำยาชุบทองแดงกรด เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น
4.น้ำยาชุบนิกเกิล มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริก น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่นน้ำยาชุบทอง มีหลายสูตรแล้วแต่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้จะพัฒนาขึ้น
5.สารเคมีที่ใช้ผสมเป็นน้ำยาชุบทอง ได้แก่ กรดไนตริกหรือกรดดินประสิว กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ โซเดียมไซยา ไนด์ แผ่นทองคำ และน้ำกลั่น
6.น้ำยาชุบทอง 24 เค สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เกลือโพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทส เซียมคาร์บอเนต โพแทสเซียมฟอสเฟต น้ำกลั่น
7.น้ำยาชุบเงิน ส่วนผสมของน้ำยาชุบเงินประกอบด้วย เม็ดเงินหรือแผ่นเงิน กรดซัลฟิวริก โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไซยาไนด์ บางสูตรใช้ซิลเวอร์โพแทสเซียมไซยาไนด์ ผสมกับโพแทสเซียมไซยาไนด์และโพแทสเซียมคาร์บอเนต
เคมีภัณฑ์หรือน้ำยาชุบต่างๆ มีจำหน่ายตามร้านขายเคมีภัณฑ์ทั่วไปและที่ขายสารเฉพาะสำหรับการชุบเคลือบ โดยมีทั้งแบบเป็นสารเคมีที่นำไปผสมเอง และแบบน้ำยาสำเร็จรูปซึ่งผู้ผลิตคิดสูตรขึ้นมา มีทั้งน้ำยาทำความสะอาดสูตรต่างๆ ตลอดไปถึงน้ำยาชุบต่างๆ สำหรับกิจการขนาดกลางหรือใหญ่มักจะผสมน้ำยาชุบใช้เองเพราะประหยัดต้นทุน แต่สำหรับกิจการขนาดเล็กนิยมซื้อน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้เพราะสะดวกกว่า
สอบถามข้อมูล เพิ่มเติม www.intellichems.com
Line : zerosolution
6.น้ำยาชุบทอง 24 เค สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เกลือโพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทส เซียมคาร์บอเนต โพแทสเซียมฟอสเฟต น้ำกลั่น
7.น้ำยาชุบเงิน ส่วนผสมของน้ำยาชุบเงินประกอบด้วย เม็ดเงินหรือแผ่นเงิน กรดซัลฟิวริก โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไซยาไนด์ บางสูตรใช้ซิลเวอร์โพแทสเซียมไซยาไนด์ ผสมกับโพแทสเซียมไซยาไนด์และโพแทสเซียมคาร์บอเนต
เคมีภัณฑ์หรือน้ำยาชุบต่างๆ มีจำหน่ายตามร้านขายเคมีภัณฑ์ทั่วไปและที่ขายสารเฉพาะสำหรับการชุบเคลือบ โดยมีทั้งแบบเป็นสารเคมีที่นำไปผสมเอง และแบบน้ำยาสำเร็จรูปซึ่งผู้ผลิตคิดสูตรขึ้นมา มีทั้งน้ำยาทำความสะอาดสูตรต่างๆ ตลอดไปถึงน้ำยาชุบต่างๆ สำหรับกิจการขนาดกลางหรือใหญ่มักจะผสมน้ำยาชุบใช้เองเพราะประหยัดต้นทุน แต่สำหรับกิจการขนาดเล็กนิยมซื้อน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้เพราะสะดวกกว่า
สอบถามข้อมูล เพิ่มเติม www.intellichems.com
Line : zerosolution
Facebook : Rhodium Intellichems
Tell. 02 6356426, 02 6356433
Tell. 02 6356426, 02 6356433
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น