วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

ขัั้นตอนขัดเครื่องประดับแบบมืออาชีพ

     

งานขัดเครื่องประดับ

        กลับมาแล้วหลังจากห่างหายกันไปสักพัก วันนี้ทางอินเทลลิเคมได้รวบรวมการขัดงานมาให้แก่ผู้ที่สนใจอย่างจุใจกันเลยทีเดียว 

        หลังจากที่ชิ้นงานเครื่องประดับได้ถูกตกแต่งชิ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็เข้ามาสู่กระบวนการ ขัดเครื่องประดับ  เพื่อที่จะทำให้ผิวของเครื่องประดับดูนั้นเรียบร้อยงดงาม เปรียบเมือนกับการที่ต้องขัดผิวหน้าเพื่อที่จะผลัดเซลล์ผิวเก่าออกเผยเซลล์ผิวใหม่นั่นเอง ซึ่งกระบวนการนี้เองจะเป็นการช่วยให้ชิ้นงานมีความสวยมากมากขึ้น                                                                                            อุปกรณ์ที่ช่างจะต้องใช้ โต้ะขัดแบบดูดเก็บขี้ฝุ่น แต่ส่วนใหญ่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเอามาตั้งกับพื้น, ปลอกแท่งเหล็กกลึงเกลียวใช้สำหรับใส่ลูกผ้า,ลูกปอ ลูกผ้าหนัง ผ้ายีนส์ ผ้าใยสังเคราะห์ หรือแม้กระทั่งสำลี เหล่านี้ขึ้นอยู่กับเทคนิคของช่างแต่ละคน


ยาขัดแบบต่างๆ 

ขั้นตอนการขัดงานอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ขัดด้วยยาดิน   การขัดปรับสภาพผิวให้เรียบที่สุด ที่มาของการเรียกนั้นเพราะว่า เมื่อนำชิ้นงานไปขัดแล้วชิ้นงานจะเป็นคราบสีเงาๆแต่หมอง ไม่เงาใส เพียงแต่ผิวเรียบ และที่สำคัญคือชิ้นงานจะดูสกปรกเหมือนมีขี้ดินดำๆติดมากับชิ้นงานด้วย2. ขัดด้วยยาขาว   คือ เป็นการปรับสภาพผิวของโลหะให้สะอาด เงาและเพื่อให้ผิวของชิ้นงานเรียบยิ่งขึ้น มีลักษณะเป็นแท่งสีขาว 3. ขัดด้วยยาเขียว ขั้นตอนนี้จะช่วยให้ชิ้นงานมีความละเอียด ลักษณะความหยาบของผิวลดน้อยลง มีลักษณะเป็นแม่งสีเขียว   
4. ขัดด้วยยาแดง  เป็นยาขัดแท่งสีแดง คุณลักษณะาของยาแดงนี้คือปรับผิวโลหะให้มีความเงางามเหมือนอย่างที่โชว์อยู่ในตู้โชว์    
5. ขัดด้วยยาฟ้า  ขั้นตอนนี้เหมาะกับงานประเภทแพสตินั่ม มีลักษณะเป็นแท่งสีฟ้า


คุณสมบัติผู้ขัดเงา

           1.ต้องช่างสังเกต ตรวจสอบดูก่อนว่า ชิ้นงานที่เราได้มามีข้อบกพร่องหรือไม่ ถ้าพบว่าเกิดการบกพร่องของชิ้นงานควรที่จะแจ้งให้ผู้ตรวจสอบทราบทันที เพื่อที่จะทำการแก้ไข
     2. ต้องมีความอดทน เนื่องจากว่า ผู้ที่ทำการขัดชิ้นงานนั้นต้องอยู่ประจำเครื่อง ขัดเงาเครื่องประดับ หรือโต๊ะ ขัดเงาเครื่องประดับ ไม่ได้ออกไปไหนเหมือนแผนกอื่นๆ ผู้ที่ ขัดเงาเครื่องประดับจึงจะต้องใช้ความอดทนในการทำงานอย่างสูง 
     3.ต้องอารมณ์ดี เนื่องจากงาน ขัดเงาเครื่องประดับ เป็นงานที่ต้องใช้แรงที่มีน้ำหนักอย่างพอดี หากผู้ ขัดเงาเครื่องประดับ เกิดเป็นคนอารมณ์ร้อน เผลอมือกดชิ้นงานมากเกินไป ก็จะทำให้น้ำหนักของชิ้นงานหายได้
     4.มีความละเอียด การขัดเงาเป็นลักษณะของการทำงานด้วยความละเอียดมาก และต้องทำซ้ำจนกว่าจะได้ ชิ้นงานที่ดีที่สุด เพื่อที่จะผ่านการตรวจสอบ
     5.เป็นคนพูดน้อย ซึ่งหากใครที่ชอบพูดคงจะไม่เหมาะกับการ ขัดเงาเครื่องประดับ เพราะต้องใช้สมาธิในการ ทำงาน อีกทั้งเวลาที่ ขัดเงาเครื่องประดับ ต้องสวมหน้ากากอนามัยและถุงมือ เพื่อป้องกันฝุ่น และเศษโลหะ
     6.ต้องมีความพิถีพิถันและใจเย็นในการ ขัดเงาเครื่องประดับ ชิ้นงาน เนื่องจากการขัดชิ้นงานนั้น ต้องดูแล้วดูอีกว่าชิ้นงานมีความเงาแล้วหรือยัง ถ้ายังควรต้อง ขัดเงาเครื่องประดับ ต่อไปจนกว่าได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับจากผู้ที่ทำการตรวจชิ้นงานเครื่องประดับ













ในการ ขัดเงาเครื่องประดับ นั้น นอกจากจะต้องมีความพิถีพิถันและเอาใจใส่รายละเอียดในการทำงานแล้ว ยังต้องมีสมาธิในการทำงานอย่างสูง เพื่อให้เกิดข้อผิดพลาดของการทำงานน้อยที่สุด 
การ ขัดเงา เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะใช้ในการชุบเครื่องประดับ เพราะหากมีการ ขัดเงาเครื่องประดับ ที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว จะทำให้คุณภาพของเครื่องประดับที่ชุบนั้นคุณภาพไม่ได้อีกด้วย            
หากผู้ที่ ขัดเงาเครื่องประดับ มีความใส่ใจในรายละเอียดมาก และไม่ปล่อยให้งานที่ไม่ได้มาตรฐานผ่านไปง่ายๆ ก็จะทำให้ได้เครื่องประดับที่มีคุณค่า มีราคาแพง ให้สมกับที่ผู้ผลิตให้ความใส่ใจในทุกรายละเอียด และ เครื่องประดับ หนึ่งชิ้นกว่าจะไปอยู่บนร่างกายของผู้ที่สวมใส่ต้องผ่านกระบวนการมากมาย เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีที่สุด                                                                     .......................................................................................................................................................................................................................................................
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ดังนี้
Facebook : Rhodium Intellichems
Line : zerosolution
Tel : 02 6356426, 02 6356433
www.intellichems.com



วันเสาร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2561

ใครว่างานชุบยาก บอกเลยดูคลิปเราแล้ว คุณจะร้อง 
อ่อ!!! ง่ายจัง

เรามาเริ่มกันเลยนะค่ะ



https://www.youtube.com/watch?v=9DKt2B_HxIM&t=89s





https://www.youtube.com/watch?v=LA_Vvm-dd2s&t=103s

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ดังนี้
Facebook : Rhodium Intellichems
Line : zerosolution
Tel : 02 6356426, 02 6356433
www.intellichems.com


เรื่องชุบงาน ขอให้บอก - Intellichems

ไขข้อสงสัย งานชุบเครื่องประดับ




ว่ากันด้วยเรื่องเครื่องประดับนั้นเมื่อเครื่องประดับของพวกเราได้เดินทางมาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้วนั่นคือ ขั้นตอนในการชุบเครื่องประดับเปรียบเสมือนการใส่เสื้อผ้าของคน ซึ่งจะสวยงามากแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับลายผ้าที่สวมใส่  ซึ่งการชุบเครื่องประดับก็เช่นกันเป็นขั้นตอนการทำให้เครื่องประดับดูดี มีราคามากยิ่งขึ้น


                                                                                      การชุบเครื่องประดับด้วยโลหะด้วยไฟฟ้า

วิธีการนี้เป็นการนำโลหะมา เคลือบลงบนชิ้นงาน โดยโลหะที่นำมาชุบเครื่องประดับนั้นอาจจะเป็นโลหะชนิดเดียวกัน หรือคนละชนิดก็ได้ โดยการนำชิ้นที่ต้องการชุบเครื่องประดับต่อเข้ากับขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและต่อกับแผ่นโลหะขั้วบวก จากนั้นนำชิ้นงานและแผ่นโลหะจุ่มลงไปในน้ำยาชุบเครื่องประดับ เมื่อกระแสไฟมีการเคลื่อนที่ โลหะก็จะวิ่งไปยังชิ้นงานได้ทันที


ชนิดของโลหะที่นิยมใช้ในการชุบเครื่องประดับ

      1.ทองคำ จะเป็นทองคำบริสุทธ์ที่ไม่ผ่านการผสมใดๆ จุดเด่นของทองคำ คือ มีสีทองสดใส ไม่สึกกร่อนและไม่หมอง     

 2.โรเดียม เป็นโลหะมีค่าในกลุ่มของแพลทินัม นิยมนำมาใช้เป็นนำยาชุบเครื่องประดับเงินผิวของตัวเรือนเครื่องประดับ เนื่องจากมีความแข็งสูง สามารถทนทานต่อการสึกกร่อนและทนทานต่อรอยสีข่วนได้ดี อีกทั้งยังกันความหมองให้กับเครื่องประดับได้อีกด้วย      

3.เงิน ซึ่งนั้นมีสีแวววาว แต่เงินนั้นจะเกิดการหมองได้ง่าย เมื่อโดนอากาศ จึงทำให้หลังจากการชุบเครื่องประดับด้วยเงินแล้ว จะชุบโรเดียมอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันความหมองบนตัวเรือนเครื่องประดับนั่นเอง

     4.พาลาเดียม จะนิยมชุบแหวนในเครื่องประดับเนื่องจากพาลาเดียม ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดและด่างได้ดี

รูปแบบของการชุบเครื่องประดับ

1.การชุบแบบแขวน

เป็นวิธีการชุบที่นิยมกันมากที่สุดในการชุบเครื่องประดับ ซึ่งลักษณะของชิ้นงานจะต้องแขวนด้วยตะขอ หรือสามารถผูกกับลวดทองแดงแล้วนำมาผูกไว้กับตะแกรงชุบเครื่องประดับได้  ในการชุบเครื่องประดับแบบนี้จะมีตะแกรงที่มีชิ้นงานแขวนอยู่ลงไปแช่ในน้ำยาชุบเครื่องประดับ


ข้อควรคำนึงในการชุบเครื่องประดับแบบแขวน

    >  ตะแกรงบนตระแกรงในการแขวนชิ้นงานนั้นจะต้องอยู่ตรงจุดกึ่งกลาง  
   >  จุดสัมผัสระหว่างตะขอกับชิ้นงานต้องต้องนำไฟฟ้าได้ดี     >  ตะขอที่แขวนนั้นควรทำจากสแตนเลส เพื่อง่ายต่อการลอกผิวโลหะที่เคลือบออก

2.การชุบเครื่องประดับแบบถังหมุน เป็นการชุบเครื่องประดับที่เหมาะสำหรับชิ้นงานขนาดเล็ก ซึ่งการชุบเครื่องประดับแบบนี้จะนำชิ้นงานใส่ลงไปในถังพลาสติกที่มีขั้วไฟฟ้าสัมผัสกับชิ้นงานจากกนั้นก็หมุนถังเพื่อทำการชุบแหวน

ข้อดี   ของการชุบเครื่องประดับแบบนี้คือ ไม่ต้องเสียเวลาในการผูกกับชิ้นงานลงบนตะแกรง และสามารถชุบแหวนตัวเรื่องเครื่องประดับในจำนวนที่มากได้ทันที และยังเหมาะสำหรับการชุบเครื่องประดับชิ้นงานที่ผ่านการขัดเงามา
ข้อเสีย   เมื่อชิ้นงานมีการเคลื่อนที่ได้แบบไม่อิสระ ก็จะทำให้ชิ้นงานชนกัน ทำให้เกิดการบิดงอและทำให้ชิ้นงานเครื่องประดับเกิดความเสียหายหรือเป็นรอยได้



3.การชุบแบบแต้มด้วยปากกา
เหมาะสำหรับการชุบเครื่องประดับผิวเฉพาะจุด หรือบริเวณพื้นที่เล็กๆ เช่น หนามเตยของแหวน และเหมาะสำหรับการชุบแบบ 2 สีซึ่งการใช้งานจะง่ายกว่าแบบแขวน เพียงแค่แต้มบริเวณที่ไม่ต้อง การชุบด้วยแลกเกอร์ แล้วนำชิ้นงานไปชุบได้ทันทีบริเวณที่ทาแลกเกอร์ไว้นั้นก็จะไม่มีร่องรอยการชุบเครื่องประดับ แต่การชุบแบบนี้จะไม่สามารถชุบเครื่องประดับให้มีความหนาได้ และชิ้นงานที่ใช้ขั้นตอนการชุบวิธีนี้ จะต้องนำไปทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนที่นำมาชุบได้

4.การชุบแบบใช้เครื่องสั่น
เป็นการชุบที่อาศัยแรงสั่นสะเทือน ซึ่งจะทำให้ชิ้นงานเครื่องประดับมีการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ และสม่ำเสมอ ทำให้ผิวที่ได้จากการชุบแบบนี้จะมีผิวที่สม่ำเสมอ และชิ้นงานไม่เกิดความเสียหาย และยังเป็นการใช้น้ำยาชุบในปริมาณน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีอีกด้วย

5.การชุบแบบเครื่องชุบสร้อย   เป็นการชุบเครื่องประดับประเภท สร้อย โดยเฉพาะซึ่งการชุบแบบนี้จะช่วยลดปัญหาการเคลื่อนตัวของสร้อยยาก หลังจากการชุบ นอกจากนี้ วิธีนี้ยังเป็นการทำให้การชุบมีความหนาและสม่ำเสมอทั่วทั้งชิ้นงานอีกด้วย


ข้อควรระวังในการชุบเครื่องประดับ

1.ใช้สารเคมีต่างๆ เช่น น้ำยาชุบเงิน ให้มีความระมัดระมัดและรอบคอบ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดจากความประมาทของตนเอง ทำให้ได้รับบาดเจ็บได้

2.ตรวจสอบชิ้นงานเครื่องประดับให้ดีก่อนที่จะทำการชุบ เพราะหากว่าชิ้นงานเกิดข้อบกพร่องแล้วนำไปชุบจะไม่สามารถแก้ไขได้ หรือทำได้ยาก

3.ใส่ชุดและอุปกรณ์ในการป้องกัน เนื่องจากว่าห้องชุบนั้นจะเป็นห้องที่มีแต่สารเคมี และผู้ที่ทำการชุบควรที่จะสวมถุงมือ และผ้าปิดปาก เพื่อป้องกันสารเคมีมาโดนผิวหนัง

4.ไม่ควรหยอกล้อและเล่นกันภายในห้องชุบ เนื่องจากว่าห้องชุบนั้นมีสารเคมี หากผู้ที่ทำการชุบหยอกล้อหรือเล่นกัน สารเคมีอาจจะหกมาโดนผิวหนังหรือส่วนอื่นของผู้ทำการชุบได้

5.ในกรณีที่บางคนเกิดอาการแพ้สารเคมีในห้องชุบนั้น ควรรีบไปพบแพทย์ และทำการรักษาอย่างทันที อย่าปล่อยไว้นานจะเกิดอาการเรื้อรังขึ้นได้ ทางที่ดีที่สุดควรต้องไปพบแพทย์

6.ห้ามนำอาหารและเครื่องดื่มมารับประทานในห้องชุบ เพราะห้องนี้เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีโดยตรง อาหารและเครื่องดื่มจึงไม่ควรนำเข้ามาบริเวณที่ทำการชุบเครื่องประดับโดยเด็ดขาด เพื่อที่จะเกิดความปลอดภัยของผู้ทำชุบชิ้นงานเครื่องประดับเอง


***  ในการชุบแต่ละครั้งนั้นควรที่จะศึกษาขั้นตอนและกระบวนการชุบให้ละเอียดและมีความเข้าใจที่ดีเสียก่อน  เพราะหากว่านำชิ้นงานลงไปชุบในโลหะผิดประเภทอาจจะเกิดความเสียหายต่อชิ้นงานได้ และในกรณีการชุบที่จะต้องชุบเครื่องประดับจำนวนมาก และต้องใช้เวลาพอสมควร ผู้ทำการชุบจะต้องเตรียมชิ้นงานให้เรียบร้อยก่อนที่จะนำไปชุบ และควรจะเตรียมอุปกรณ์การชุบให้พร้อมอยู่เสมอ เมื่อถึงเวลาที่ชิ้นงานถูกส่งเข้ามายังห้องชุบแล้วจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ และสามารถชุบชิ้นงานเครื่องประดับออกมาได้ทันที  การชุบเครื่องประดับเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้เครื่องประดับมีความสวยงาม แวววาว คงทน รวมถึงยังสามารถป้องการการขัดสี การสึกกร่อน อีกทั้งยังกันความหมองได้อีกด้วย เมื่อเครื่องประดับทำการชุบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีการทำความสะอาดในส่วนของชิ้นงาน เพื่อที่จะเตรียมการบรรจุส่งไปยังลูกค้าต่อไป แต่หากว่าแผนกตรวจสอบมีการทดสอบแล้วว่าขั้นตอนในการชุบยังไม่ผ่านมาตรฐานก็จะทำการส่งต่อให้แผนกชุบ แก้ไขงาน เมื่อแก้ไขงานเสร็จแล้ว ก็จะทำการส่งมอบให้ลูกค้า






----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ดังนี้
Facebook : Rhodium Intellichems
Line : zerosolution
Tel : 02 6356426, 02 6356433

www.intellichems.com
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Super Black gun Plating (การชุบซุปเปอร์ แบล็คกัน)

เทคนิค การชุบ ให้ดำ ทำอย่างไร ?
       การชุบเคลือบผิวเครื่องประดับด้วยไฟฟ้า เช่น การชุบทอง เงิน นาก ว่ากันว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันยังคงพบเห็นร้านรับชุบเครื่องประดับ เครื่องหมายและของที่ระลึกต่างๆตามแหล่งชุมชนอยู่บ้าง โดยมักเป็นร้านขนาดเล็กที่ทำคนเดียวใช้พื้นที่หน้าร้านเพียงเล็กน้อยตั้งอุปกรณ์รวมไปถึงร้านที่ทำเป็นกิจการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 4-5 คน ทำงานในห้องแถวเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ชุบชิ้นงานได้เป็นร้อยๆ ชิ้นในการชุบครั้งเดียว

การชุบโลหะประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
       การชุบทองแดงด่าง เป็นการชุบรองพื้น เพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิวชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว ส่วนการชุบทองแดงกรดจะทำให้ผิวเรียบมันเงา ทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา  การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรือโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม
ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่นๆ ซึ่งในการชุบจริงอาจลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงาน เช่น หากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น
         สารเคมีที่เกี่ยวข้อง การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้
1.สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20-40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน
2.น้ำยาชุบทองแดงด่าง สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียม คาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น
3.น้ำยาชุบทองแดงกรด เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น
4.น้ำยาชุบนิกเกิล มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริก น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่นน้ำยาชุบทอง มีหลายสูตรแล้วแต่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้จะพัฒนาขึ้น
5.สารเคมีที่ใช้ผสมเป็นน้ำยาชุบทอง ได้แก่ กรดไนตริกหรือกรดดินประสิว กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ โซเดียมไซยา ไนด์ แผ่นทองคำ และน้ำกลั่น
6.น้ำยาชุบทอง 24 เค สารเคมีที่ใช้ได้แก่ เกลือโพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ โพแทส เซียมคาร์บอเนต โพแทสเซียมฟอสเฟต น้ำกลั่น
7.น้ำยาชุบเงิน ส่วนผสมของน้ำยาชุบเงินประกอบด้วย เม็ดเงินหรือแผ่นเงิน กรดซัลฟิวริก โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมไซยาไนด์ บางสูตรใช้ซิลเวอร์โพแทสเซียมไซยาไนด์ ผสมกับโพแทสเซียมไซยาไนด์และโพแทสเซียมคาร์บอเนต
เคมีภัณฑ์หรือน้ำยาชุบต่างๆ มีจำหน่ายตามร้านขายเคมีภัณฑ์ทั่วไปและที่ขายสารเฉพาะสำหรับการชุบเคลือบ โดยมีทั้งแบบเป็นสารเคมีที่นำไปผสมเอง และแบบน้ำยาสำเร็จรูปซึ่งผู้ผลิตคิดสูตรขึ้นมา มีทั้งน้ำยาทำความสะอาดสูตรต่างๆ ตลอดไปถึงน้ำยาชุบต่างๆ สำหรับกิจการขนาดกลางหรือใหญ่มักจะผสมน้ำยาชุบใช้เองเพราะประหยัดต้นทุน แต่สำหรับกิจการขนาดเล็กนิยมซื้อน้ำยาชุบสำเร็จรูปมาใช้เพราะสะดวกกว่า
สอบถามข้อมูล เพิ่มเติม www.intellichems.com
Line : zerosolution
Facebook : Rhodium Intellichems
Tell. 02 6356426, 02 6356433